ถ่ายวิ่งเข้าหากล้อง ด้วย AI Servo
คยคิดว่าจะลองถ่ายอะไร move move วิ่งเข้ามาหากล้องไหม?
ลองนึกภาพการแข่งกีฬาสิ นักกีฬาวิ่งเข้ามาหากล้อง หรือ ขี่จักรยานเข้ามาหากล้อง เราอยากจะจับ moment เค้าให้ได้ใช่มั้ยคะ
ถ้าเป็นกล้องวีดีโอ ถ่ายคนเดิน หรือ วิ่งเข้าหากล้อง มันก็จะ Auto Focus คนให้ชัดไปเรื่อยๆ ใช่ปะ...
แล้วกล้อง DSLR หละ จะทำอย่างนั้นได้หรือไม่ เพราะปกติเวลาเราถ่ายรูป เราก็โฟกัสไปเลยเป็นภาพๆ แล้วถ้าคนวิ่งเข้าหากล้องหละ เราจะโฟกัสแล้วถ่ายทันไหม จะเบลอหรือป่าว
ภาพที่ได้จะออกมาสไตล์แบบนี้
สิ่งที่สำคัญของภาพคือ แบบจะต้องชัด
ทั้งมุมใกล้มุมไกล ก็ต้องชัด และต้องได้มุมที่รู้ว่ากำลังวิ่งอยู่ เช่น ผมต้องปลิว มือต้องดูแล้วรู้ว่ากำลังวิ่ง
มาดูอุปกรณ์กันดีกว่าค่ะ
แน่นอนว่าการถ่ายภาพสไตล์แบบนี้ต้องการความเร็ว เพื่อให้เราสามารถโฟกัสได้เร็วและได้ภาพคมชัด เลนส์ที่ใช้จำเป็นต้องมี USM (Ultrasinic Motor) ถ้าเป็น Nikon ก็ต้องมี AF-S (Autofocusing with Silent Wave Motor)
เลนส์ที่ใช้ใน content นี้คือ 100mm F2.8 Macro USM และ เลนส์ 10-22mm F3.5-4.5 USM
- เลนส์ที่ USM มันแพงอะพี่ ไม่มีได้ไหม?
- ถ้าไม่มีมันจะถ่ายยากนะ กว่าจะได้ภาพต้องใช้ความพยายามมากๆ แบบก็ต้องวิ่งไม่เร็วนัก หรือไม่ก็ต้องโฟกัสรอไว้ พอแบบวิ่งมาถึงจุด เราก็กด Shutter
การ set อุปกรณ์
- ปรับโหมดถ่ายรูป Canon ปรับโหมด TV สำหรับ Nikon ปรับโหมด S
- ปรับ Speed Shutter เป็น 1/640
- ปรับ ISO เป็น 800
- ปรับจุดโฟกัส (AF Point Selection) เป็นแบบ Manual Selection จุดเดียว เลือกไว้ตรงกลาง
- ปรับโหมด AF-Mode ของ Canon ปรับ AI Servo ของ Nikon ปรับ AF-C (Continuous Servo AF)
- ย้ายปุ่มออโต้โฟกัสไปอยู่ที่ AE-Lock เพราะเราต้องโฟกัสแช่แล้วถ่าย
วิธีการปรับตัวกล้อง ไปดูในวีดีโอนะ
ขอลงลึกว่าทำไมต้อง Set ค่าตามที่บอก (สำหรับคนที่เก่งแล้วอาจจะเอาไปปรับใช้ได้ตามสะดวก)
- ปรับโหมด TV เพราะภาพแนวนี้เราให้ความสำคัญที่ Speed Shutter ถ้า Speed ไม่เร็วพอ จับแบบให้นิ่งให้คมไม่ได้ ดังนั้นต้องได้ Speed Shutter ไม่ต่ำกว่า 1/640 ไม่ให้ Speed Shutter สวิงไปมาได้
- ปรับ ISO เป็น 800 เพราะแสงธรรมชาติ มีโอกาสมืดลงได้เสมอ การ Set ISO ไว้ที่ 800 เลยเป็นการปลอดภัยว่าเราได้ภาพแน่นอน
ความแตกต่างระหว่างโหมด TV กับ AV
คงเคยเห็นว่าปกติดเราถ่ายรูป เราก็ตั้งโหมด AV เป็นหลักถูกไหม เพราะเราต้องการใช้รูรับแสงในการ Design ภาพ จะชัดลึกชัดตื้นง่ายๆ ก็คุมกันที่รูรับแสง
เหตุผลที่จะไม่ได้ภาพ หรือ ภาพเสียจากโหมด AV จะเกิดจากมือสั่น ภาพเบลอ เพราะอะไร?
เพราะปกติ ถ้าเราใช้ทางยาวโฟกัส 50mm เราต้องได้ Speed Shutter ไม่ต่ำกว่า 1/50 ใช่ไหม ถึงจะถือกล้องได้ ภาพไม่เบลอ ดังนั้น Speed Shutter จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ภาพเบลอหรือไม่ ซึ่งในโหมด AV ตัว Speed Shutter มันจะสวิงไปสวิงมา ถ้าโชคร้าย มันสวิงไปต่ำกว่า 1/50 แล้วเราไม่ได้สังเกตแล้วกดชัตเตอร์ลงไปเลย ภาพก็เบลอแน่นอน
เหตุผลที่จะไม่ได้ภาพ หรือ ภาพเสียจากโหมด TV จะไม่เหมือน AV คือ ภาพจะมืด(แต่ไม่เบลอนะ) เพราะอะไร?
เพราะโหมด TV เราจะ fix Speed Shutter ไปเลยใช่ไหม เช่น ถ้าเราใช้ทางยาวโฟกัส 50mm เราก็ fix Speed Shutter ไป 1/50 ซึ่งอันนี้มันก็เป็นไปตามสูตรของ Speed Shutter ต่อ ทางยาวโฟกัส
แล้วอะไรที่มันสวิงหละ???
ก็ค่า F ไงคะที่มันจะสวิง ลองนึกภาพดูว่า ถ้าเราใช้ Speed Shutter เร็วๆ กล้องก็ต้องการแสงแรงๆ มันถึงจะได้แสงที่พอดี แล้วถ้าเลนส์เรารูรับแสงที่กว้างที่สุดมันไม่กว้างหละ เช่น กว้างสุดได้ F5.6 แต่ดันเปิด Speed Shutter ซะเร็ว ผลคืออะไร? ก็แสงไม่พอ ภาพก็มืด
แล้วมีวิธีเช็คไหมว่าตอนนี้รูรับแสงเปิดกว้างได้ไม่พอ เราจะได้ดัน ISO ขึ้นไป???
มีค่ะ ก็ดูที่ค่า F ว่ามันกระพริบหรือป่าว ถ้ามันกระพริบก็แสดงว่า กล้องต้องการเปิดรูรับแสงให้กว้างกว่านี้ แต่เลนส์เราเปิดได้กว้างสุดแค่นี้ ทางแก้คือ
ต้องไปดัน ISO ขึ้น
- ปรับจุดโฟกัส (AF Point Selection) เป็นแบบ Manual Selection จุดเดียว เพราะถ้าเป็นแบบ Automatic Selection จะทำให้โฟกัสได้ช้ามาก พูดง่ายๆว่า โฟกัสไม่โดนค่ะ
- ปรับโหมด AF-Mode เป็น AI Servo เพราะเราต้องการโฟกัสติดตามแบบ ถ้าปรับเป็นแบบ One Shot เราจะโฟกัสไม่ทัน เพราะแบบจะวิ่งเข้ามาหาเราเรื่อยๆ ระยะโฟกัสจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ใช้ AI Focus แทนได้ไหม?
อาจจะได้นะ แต่อย่าเลย เพราะระบบ AI Focus มันจะทำงานได้แบบ One Shot และ AI Servo ดังนั้นถ้ากล้องพิจารณาว่าแบบหยุด มันจะเปลี่ยนโหมดมาเป็นแบบ One Shot ทันที แต่งานนี้เรารู้อยู่แล้วว่ายังไงแบบก็ไม่หยุด จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้โหมดนี้ (ส่วนตัวกลัวเรื่องความเสี่ยงว่ากล้องจะคำนวณพลาดกลายเป็น One Shot ไปซะงั้น)
- ย้ายปุ่มออโต้โฟกัสไปอยู่ที่ AE-Lock
ย้ายมาอยู่ AE-Lock เพราะต้องการใช้นิ้วโป้งกดปุ่มออโต้โฟกัสแช่ไว้เลย ส่วนนิ้วชี้ก็สมาธิกับการกดชัตเตอร์อย่างเดียว ทำให้กดชัตเตอร์ได้หลายช็อต ต่อการวิ่ง 1 ครั้ง ซึ่งอันนี้แล้วแต่ความถนัด
พร้อมแล้วก็มาวิ่งกันเลย
การเลือกจุดโฟกัส ก็ให้จุดโฟกัสไปอยู่ที่หน้าของแบบ เพราะส่วนอื่นเบลอไม่เป็นไร แต่หน้าต้องชัด
กดปุ่ม AE-Lock (ที่ตอนนี้ทำงานเป็น Auto Focus) แช่ไว้ พอแบบเข้ามาในองค์ประกอบที่ต้องการก็กดชัตเตอร์ได้เลย
ใน 1 การวิ่งน่าจะถ่ายได้ประมาณ 2 ช็อต
เราสามารถเปลี่ยน AF Point Selection จากจุดตรงกลาง ให้อยู่ซ้าย - ขวา - บน - ล่างได้ตามความจำเป็นขององค์ประกอบภาพนะ เช่น ถ้าเราอยากวางแบบไว้ด้านขวา ก็ปรับ AF Point Selection ไว้ด้านขวาแทน
เทคนิคก็แค่นี้แหละ ลองฝึกถ่ายให้ได้ภาพชัดทุกทั้งนะ
แต่... ยังไม่จบ นี่เป็นแค่การใช้เทคนิคเท่านั้น เมื่อเรามีเทคนิค และฝึกจนถ่ายได้ชัดทุกครั้งแล้ว เราต้องนำเอาเทคนิคไปใช้ในการสร้างสรรค์ภาพอย่างที่เราจินตนาการเอาไว้
ภาพนี้เปลี่ยนทิศทางวิ่ง จากวิ่งเข้าหากล้อง เป็นวิ่งออกจากกล้อง
ใส่เรื่องราวเข้าไป เป็นคนนึง วิ่งเข้าหาอีกคนนึงราวกับไม่ได้พบเจอกันมานาน Ohhh my dear...... (มุมนี้ดูฝรั่งไปไหม)
ใส่เรื่องราวเป็นวิ่งหนีอีกคนนึง หรือวิ่งเล่นสนุกด้วยกัน
นี่ก็วิ่งแปลกๆ
วิ่งลั้นลา
วิ่งคนเดียว ผมปลิวสยาย ภาพนี้ที่ตัวกล้องต้องเปลี่ยน AF Point Selection เป็นจุดด้านบนขวา เมื่อวิ่งเข้ามาได้ที่ก็กดชัตเตอร์
ภาพนี้ตั้ง AF Point Selection อยู่ด้านบน รอให้แบบวิ่งเหยาะๆเข้ามาจนถึงองค์ประกอบที่ต้องการก็กดชัตเตอร์
สำคัญว่า Action ของแบบต้องดูออกนะว่ากำลังวิ่งอยู่ เช่น ผมปลิว มืออยู่ในท่าวิ่ง เพราะภาพนี้เราไม่เห็นขาของแบบ
ย้ำๆๆๆๆๆ
เมื่อทำเทคนิคได้อย่าเพิ่งถ่ายมาส่งการบ้านนะคะ ใส่เรื่องราวเข้าไปก่อนแล้วค่อยเอามาส่ง ภาพจะได้มีเรื่องราว
เราต้องเลือก Location ให้เข้ากับเรื่องราวที่เราจะนำเสนอนะคะ อย่าตั้งหน้าตั้งตาทำเทคนิคจนลืมเลือก Location
และเมื่อได้ Location แล้วก็อย่าลืมเลือกช่วงเวลา และเลือกแสงที่เหมาะๆ กับเรื่องราวของภาพด้วย