คู่มือช่างภาพ #ฟิลเตอร์ไกด์
วันนี้เรานำสาระน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ฟิลเตอร์ สำหรับชาวไอเลิฟ ที่อยากจะลองฝึกใช้ ทำความรู้จักฟิลเตอร์แต่ละชนิด และหลักการใช้งานอย่างครบถ้วน ใครสนใจก็ไปดูกันได้เลย
ทำไมต้องใช้ฟิลเตอร์?
หลักๆ ฟิลเตอร์มีหน้าที่ปกป้องเลนส์จากการกระแทก คราบสกปรก รอยนิ้วมือ ฝุ่น ละอองน้ำต่างๆ โดยบางชนิดสามารถทำหน้าที่ตัดแสง ลดการสะท้อน หรือเติมเฉดสีให้กับภาพได้
การใส่ฟิลเตอร์ให้กล้องก็เหมือนการใส่แว่นกันแดดให้กับดวงตา แว่นกันแดดสามารถปกป้องแสงให้กับดวงตา ช่วยให้มองเห็นได้ชัดกลางแจ้ง แต่เมื่อใส่ในที่ร่มก็อาจลดทอนการมองเห็นของเราลงได้ เช่นเดียวกับฟิลเตอร์ ถ้าหากเอามาใช้ผิดสถานการณ์ ก็อาจจะส่งผลเสียให้กับภาพมากกว่าจะเกิดประโยชน์ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจการใช้งานฟิลเตอร์แต่ละชนิดก่อนจะตัดสินใจหยิบขึ้นมาใช้นั้นเองจ้า ว่าแล้วก็มาทำความรู้จักฟิลเตอร์แต่ละชนิดกันเลย
1.) Protect Fillter
เหมาะสำหรับ ช่างภาพทั่วไป
เป็นฟิลเตอร์ใส นิยมใส่เพื่อปกป้องเลนส์จากการตกกระแทก เพราะถ้าทำกล้องตก เกิด Accident ไม่คาดคิด ทำหน้าฟิลเตอร์พังย่อมดีกว่าหน้าเลนส์พังเป็นไหนๆ ทั้งนี้ยังสามารถป้องกัน ฝุ่น, คราบสกปรก ละอองน้ำที่อาจจะกระเด็นกระดอนมาโดนบ้าง การเช็ดทำความสะอาดฟิลเตอร์นั้นก็ง่ายกว่า ใส่ไว้ก็ไม่เสียหลายนั่นเองจ้า
2.) Ultraviolet Filter (UV)
เหมาะสำหรับ ช่างภาพทั่วไป 🌞🌞
แดดร้อนๆ แสงยูวีก็เยอะ ฟิลเตอร์ UV ถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยป้องกันแสงยูวี เข้าไปในกล้องฟิล์ม เนื่องจากการรับแสงยูวีตรงๆ สามารถส่งผลกับแผ่นฟิล์มจนเกิดอาการสีผิดเพี้ยนได้ ทั้งนี้แสงยูวีไม่ได้ส่งผลกับกล้อง DSLR จึงนิยมใส่ฟิลเตอร์ UV เพื่อปกป้องหน้าเลนส์เหมือนกับ Protect ฟิลเตอร์ แต่ก็ยังมีชนิดที่มีการเคลือบกันการสะท้อน (Muti-coated) ช่วยป้องกันการเกิดแสงหลอก แสงแฟลร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเวลาจะถ่ายย้อนแสง แต่ต้องระวังไม่ควรเลือกชนิดที่มีความทึบจนเกินพอดีด้วยล่ะ
3.) Polarizing Fillter (CPL) 🏖🏖
เหมาะสำหรับ ช่างภาพทั่วไป
ฟิลเตอร์ CPL ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คุณสมบัติหลักคือใช้ตัดแสงโพลาไรซ์ หรือแสงสะท้อนนั้นเอง อธิบายง่ายๆ ก็คือเมื่อมีแสงกระทบกับวัตถุจะทำให้เกิดการสะท้อนของแสงกระจายไปรอบๆ ทำให้สีของวัตถุอ่อนลง ไม่สดใส การใช้ฟิลเตอร์ CPL จะตัดแสงสะท้อนเหล่านี้ออกไปทำให้ภาพมีสีที่อิ่มสวย ชัดเจน ทำให้ท้องฟ้ามีสีน้ำเงินเข้ม สวยขึ้นนั้นเองจ้า ยังสามารถใช้ตัดเงาสะท้อนในน้ำ ในกระจกและบนวัตถุต่างๆ ได้ด้วย
4.) Neutral Density (ND) 🏝🏝
เหมาะสำหรับ ช่างภาพ Landscape, Flash Photography
ND ฟิลเตอร์ ในตำนานของสายแลนด์ ความสามารถหลักๆ คือใช้ตัดแสง เปรียบได้กับแว่นกันแดดที่ทำให้แสงเข้ามาในกล้องได้น้อยลงนั่นเอง โดยเฉพาะการถ่ายภาพโดยใช้เทคนิค Long Exposure (การลาก Speed Shutterให้ช้ากว่าปกติ) ในตอนกลางวันนั้นเป็นการรับแสงตรงๆ ถึงจะปรับรูรับแสงให้แคบที่สุดแล้ว ก็ยังยากจะถ่ายภาพออกมาให้รอด ภาพที่ได้มักจะเกิด Overexposure จนสว่างเกินไป ไม่ก็ขาวโพลนกันไปข้าง ซึ่ง ND ฟิลเตอร์สามารถแก้ปัญหาตรงนั้นได้เป็นอย่างดี โดย ND ฟิลเตอร์จะมีค่า Stop อยู่ด้วย ยิ่งเลข Stop มาก ก็จะทึบมากขึ้นตาม บางแบรนด์มีแบบที่สามารถหมุนปรับค่า Stop ได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องพกหลายๆ อันก็ได้
5.) Hard-Adge Graduated Neutral Density (Hard-GND) 🏖🏖
เหมาะสำหรับ ช่างภาพ Landscape
GND ฟิลเตอร์ครึ่งซีก นิยมหยิบขึ้นมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเวลาต้องถ่ายภาพที่มีความ Contrast ระหว่างพื้นและท้องฟ้ามากๆ จนยากที่จะวัดแสงแล้วถ่ายออกมารอด ตัว GND ฟิลเตอร์ จะช่วยตัดแสงเกินบางส่วนออกทำให้เกิดภาพทีแสงเท่ากัน ได้รูปออกมาสวยอย่างที่ต้องการโดยแบบ Hard-Adge จะมีลักษณะไล่จากใสไปดำทันที (ใส>เข้ม) เหมาะกับการถ่ายภาพพื้นที่ที่มีเส้นตัดขอบฟ้าชัดเจน เช่น ทะเล
6.) Soft-Adge Graduated Neutral Density (Soft-GND) 🏞🏞
เหมาะสำหรับ ช่างภาพ Landscape
แบบ Soft จะมีลักษณ์ค่อยๆ ไล่ความเข้ม จากใสไปเข้มด้านบนสุด (จาง>เข้ม) ช่วยไล่แสงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะกับการถ่ายภาพทิวเขา ป่าเขา ที่มองไม่เห็นเส้นขอบฟ้าชัดเจน
6.) Reverse Graduated Neutral Density (Reverse-GND) 🌇🌇
เหมาะสำหรับ ช่างภาพ Landscape
แบบ Reverse จะมีลักษณ์เข้มตรงกลางแล้วค่อยๆ จางขึ้นไปด้านบนจนถึงขอบ (ใส>เข้ม>จาง) เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องหันสู้พระอาทิตย์โดยตรง ซึ่งจะทำให้มีแสงจ้าตรงกลางมากเกินไป หรือจะใช้ตอนพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน
7.) Color Filter
เหมาะสำหรับ ช่างภาพทั่วไป
เป็นฟิลเตอร์ที่เป็นชิ้นแก้วสีๆ เมื่อนำมาใส่ที่หน้ากล้องจะทำหน้าที่เปลี่ยนสีของแสง (ที่กล้องเห็น)ไปตามสีของฟิลเตอร์นั้นๆ นิยมใช้กับกล้องฟิล์ม สำหรับปัจจุบันเราสามารถนำภาพจากกล้องดิจิตอลไปตกแต่งเติมสีในโปรแกรมแต่งสำเร็จรูปได้เลย ฟิลเตอร์ชนิดนี้จึงไม่มีความจำเป็นมากนัก แต่มันยังเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับช่างภาพที่อยากจะเข้าใจการทำงานของกล้องต่อแสงได้เป็นอย่างดี
- 🔵ฟิลเตอร์สีฟ้า ช่วยเน้นสีแดง, สีส้มให้เข้มขึ้น เพิ่ม Contrast
- 🟢ฟิลเตอร์สีเขียว เหมาะกับงาน skin tones โดยเฉพาะเมื่อต้องการถ่ายใต้ไฟประดิษฐ์
- 🔴ฟิลเตอร์สีแดง ดูดซับสีน้ำเงิน สีเขียวได้ดี ใช้เพิ่ม Contrast ให้ภาพขาวดำหรือท้องฟ้าที่มีสีเข้มมากๆ
- 🟠ฟิลเตอร์สีส้ม ใช้ได้ดีกับการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดิน
- 🟡ฟิลเตอร์สีเหลืองช่วยภาพแลนด์สเคปดูสมจริงมากขึ้น
8.) Cool - Warm Filter (Light Balance Filter)
เหมาะสำหรับ ช่างภาพทั่วไป
ทำหน้าที่เหมือน Setting- White Balance ของกล้องเลย โดยการเปลี่ยนอุณหภูมิของแสง จะทำได้โดยการเพิ่มสีฟ้า หรือส้มเข้าไปในภาพ สามารถใช้ปรับมู้ดและโทนของภาพได้
- 🧡Warm Filter จะเพิ่มสีส้มเข้าไป เปลี่ยนให้บรรยากาศอบอุ่นแบบ Golden House และช่วยให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องเงากลางแจ้งมากนัก
- 💙Cool Filter จะเพิ่มสีน้ำเงินเข้าไป โดยสามารถช่วยลดความเจิดจ้าของแสงในช่วงพลบค่ำได้ หรือช่วยลดอุณหภูมิสีของภาพให้มีโทนเย็นตามากขึ้นนั้นเอง
9.) Close-Up Filter (CU) 🔍🔍
เหมาะสำหรับ ช่างภาพมาโคร
CU ฟิลเตอร์มีลักษณะผิวหน้านูน และหนา ทำหน้าที่คล้ายแว่นขยายให้กล้อง โดยเฉพาะกับกล้องที่ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ และระยะซูมที่จำกัด CU ฟิลเตอร์ เป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่อยากจะถ่ายภาพแบบมาโคร มีให้เลือกใช้งานหลากหลายเบอร์ กำลังขยายแตกต่างกันออกไป เช่น Close up +1 หมายถึง 1 diopters, Close up +2 หมายถึง 2 diopters สามารถใช้ช้อนกันได้หลายชั้น แต่พึงระวังคุณภาพของภาพที่จะได้ด้วยนะ ยิ่งกระจกหนาก็จะยิ่งคุณภาพต่ำนะจ๊ะ
10.) B&W Filter 🖤🤍
เหมาะสำหรับ ช่างภาพทั่วไป
ฟิลเตอร์สำหรับการถ่ายภาพขาวดำ มีหลายเฉด (แดง, ส้ม,เหลือง,เขียว) ลักษณะคล้ายฟิลเตอร์สี โดยแต่ละเฉดทำหน้าที่ดึงค่าความเข้มของสีขาวดำในภาพให้เข้มมากขึ้น สร้าง Contrast ที่ชัดเจนขึ้น หรือใช้ช่วยเพิ่มความเข้ม, สว่าง หรือ Grey Tone ให้ภาพได้
ฟิลเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้การฝึกฝนเพื่อความชำนาญในการใช้งานเสียก่อน ต้องมีความเข้าใจถึงสถานการณ์ สภาวะของแสง สถานที่นั้นๆ เสียก่อนจึงจะสามารถใช้ฟิลเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้น๊าา