ดีไซน์ภาพด้วยสปีดชัตเตอร์ (Speed Shutter) (Basic ตอนที่ 2/4)
คราวนี้ เรามาดูกันอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพ คือ Speed Shutter ค่ะ
เรามารู้จักธรรมชาติของ Speed Shutter กันก่อนดีกว่า
Speed Shutter พูดภาษาชาวบ้านเค้าจะเรียกว่า
ตัวใช้หยุด Movement
เอาง่ายๆ ก่อนนะคะ ถ้าเกิดว่า เราได้ไปสวนสัตว์ เราต้องการจับภาพท่าทางน่ารักๆ ของสัตว์ หรือภาพที่เป็น Shot เด็ดๆ การใช้
Speed Shutter จะทำให้เราได้ภาพค่ะ อย่างภาพนี้ จับจังหวะ นกบินลอดห่วงได้
หรือ ฮิปโปที่กำลังกินน้ำ อยากได้ภาพที่ ฮิปโปกินน้ำ แล้วเห็นน้ำเป็นเม็ดๆ แบบนี้ Speed Shutter ช่วยคุณได้ค่ะ แล้วมันไป Set ที่ตรงไหนกันละเนี่ย??
ตรงนี้ค่ะ ค่า Speed Shutter อยู่ตรงนี้ (ตามภาพด้านล่าง)
เห็นค่า 1/200 ใช่มั้ย ให้มองมันเป็นเลขเศษส่วน ก็จะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว พูดง่ายๆ ว่า
1 คือ 1วินาที ดังนั้น 1/200 คือความเร็ว Speed Shutter ที่ไม่ถึง 1 วินาที นั่นเอง
ตัวส่วนมาก Speed Shutter ก็จะยิ่งเร็ว
ตัวส่วนน้อย Speed Shutter ก็จะยิ่งช้า
1/200 ย่อม ช้ากว่า 1/1000 แน่นอน ถูกต้องมั้ยคะ
ลองเลื่อนรูรับแสงดูค่ะ เลื่อนให้แคบลงนะ จะเห็นค่าที่หลากหลายของ Speed Shutter เช่น 1/15, 1/50 เป็นต้น หรือ 1"6, 2"3, 15'', สูงสุดคือ 30" ถ้าเห็นแบบมันคือ 1.6 วินาที, 2.3 วินาที, 15 วินาที, และ 30 วินาที
ก่อนอื่นเราก็ Set ไปที่โหมด
TV (Time Value) การ Set เป็น TV คือการให้ความสำคัญที่ Speed Shutter โดยค่า F จะแปรผันเปลี่ยนไปตามการปรับ Speed Shutter กรณีนี้ ทำให้เราสะดวกมากขึ้น ถ้าเรารู้อยู่แล้วว่า เราต้องการ Speed Shutter เท่าไร อย่างการถ่ายภาพนกบินแบบนี้ ตั้งไว้ที่ 1/800 หรือ ภาพฮิปโปกินน้ำ ก็ตั้งไว้ที่ 1/1000 ค่ะ
(ถ้าเป็น
AV เป็นการให้ความสำคัญกับ
การปรับรูรับแสง หรือค่า F ดังนั้น การปรับค่า F ตัว Speed Shutter จะแปรผันเปลี่ยนไปตามค่า F ที่เราตั้งค่ะ)
ที่นี้ มาลองดูการหยุดคนกระโดดด้วย Speed Shutter ดูค่ะ
อย่างคนกระโดด เป็นภาพ Top Hit ติดชาร์จของการถ่ายภาพจริงๆ แอบคิดมาก่อนในใจว่า Speed Shutter 1/200 น่าจะหยุดคนได้นิ่งพอสมควร
แล้วถ้า Speed Shutter ช้าลงมากๆ จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตดูในภาพนะคะ ส่วนของขา+เท้าทั้ง 2 ข้างเบลอ ดูมีการขยับ
อย่างภาพสนามเด็กเล่นภาพนี้ สังเกตดูว่า ภาพจะชัดทีเดียว
แต่ภาพด้านล่างนี้ เด็กมีการเคลื่อนไหว ภาพเบลองไม่ชัดเท่าไร (ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าเราต้องการภาพสไตล์ไหน เพราะภาพเบลอๆ จากการขยับทำให้เราเห็น Movement ของเด็กๆ)
แต่บางครั้ง ภาพที่เราดีไซน์ไว้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องหยุดทุกสิ่งอย่างในภาพ เพราะเราอาจจะสร้างมุมมองที่แตกต่างก็ได้ อย่างเช่นภาพนี้ ต้องการสื่อตัวแบบที่ยืนอยู่ท่ามกลางความโกลาหล ในตลาด ก็ได้ภาพอีกสไตล์หนึ่งที่น่าสนใจ
จากภาพตัวอย่าง ก็จะเห็นแล้วว่า แค่การปรับ Speed Shutter ก็ทำให้เราได้ภาพที่ต่างกันออกไปแล้วค่ะ อยากให้ลองไปปรับเล่นกันดูนะคะ
ติดตามอ่าน Basic การถ่ายรูปทั้ง 4 ตอนได้ที่ Link นี้ค่ะ
1. ดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสง
2. ดีไซน์ภาพด้วยสปีดชัตเตอร์
3. ISO คืออะไร?
4. รูรับแสง - Speed Shutter - ISO เกี่ยวข้องกันยังไง?