สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

Basic การถ่ายภาพ

รูรับแสง - Speed Shutter - ISO เกี่ยวข้องกันยังไง? (Basic ตอนที่ 4/4)

สินค้า
สถานะสินค้า
ราคา
จำนวน
สินค้าหมดชั่วคราว
* สินค้าที่มีสถานะ "รอยืนยัน" เป็นสินค้าที่ต้องเช็คสต็อคก่อน สามารถสั่งซื้อได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะตอบกลับใน 1 วันทำการ
รายละเอียดเพิ่มเติม

รูรับแสง - Speed Shutter - ISO เกี่ยวข้องกันยังไง? (Basic ตอนที่ 4/4)

จาก Tip ถ่ายรูป 3 เรื่องที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น รูรับแสง Speed Shutter และ ISO ทั้ง 3 เรื่องนี้ จะสัมพันธ์กันอยู่ค่ะ จริงๆแล้วจะเริ่มกล่าวถึงความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่เรื่อง ISO แล้ว เพราะว่า เราจะใช้ ISO เพื่อวัตถุประสงค์คือ เมื่อเราต้องถ่ายรูปในที่แสงไม่พอ เราจึงเพิ่มค่า ISO ถูกต้องมั้ยคะ

เมื่อสมัยที่เริ่มถ่ายรูปใหม่ๆ ก็จะสงสัยว่า เราต้องเพิ่ม ISO เท่าไร ภาพถึงจะไม่เบลอ เพราะ ISO มีตั้้งหลายค่าให้เราตั้ง ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์ ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียด ก็ย้อนกลับไปอ่านได้นะคะ



จากที่ได้พูดความสัมพันธ์ไปแล้ว คนที่ไม่เคยใช้ DSLR มาก่อนน่าจะงงกันทุกคนแหล่ะ สำหรับ Content นี้ จะเป็นการยกตัวอย่างความสัมพันธ์ ให้เห็นเป็นภาพ อย่างที่กูรูกล้องเค้าชอบใช้กันโดยยกตัวอย่างโดยใช้ สิ่งที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน นั่นคือ ก๊อกน้ำ และแก้วน้ำค่ะ ดูภาพด้านล่างนี้

ดูทางซีกซ้ายก่อนนะ กำหนดเป้าหมายคือ เราต้องการรองน้ำให้เต็มแก้ว
เรามี ก๊อกน้ำ (มีให้เลือกเฉพาะเปิดกับปิดเท่านั้นนะ)
เรามี แก้วน้ำ
เราเริ่มทำตามเป้าหมายของเราเลย คือ เปิดก๊อกน้ำ, รองน้ำให้เต็มแก้ว, แล้วปิดน้ำ ทำให้เรารู้ว่า เราต้องเปิดก๊อกนาน 2 วินาที น้ำจึงจะเต็มแก้ว

ดูทางซีกขวา เรามีเป้าหมายเดียวกันคือ รองน้ำให้เต็มแก้ว
เรามี ก๊อกน้ำ (สังเกตว่า ขนาด เล็กกว่า ก๊อกทางซีกซ้าย)
เรามี แก้วน้ำ (สังเกตว่า ขนาด เท่ากัน กับแก้วทางซีกซ้าย)
เราเริ่มทำตามเป้าหมายของเรา คือ เปิดก๊อกน้ำ, รองน้ำให้เต็มแก้ว, แล้วปิดน้ำ ทำให้เรารู้ว่า สำหรับก๊อกที่เล็กลง เราต้องเปิดก๊อกนานขึ้นจาก 2 วินาที เป็น 6 วินาที น้ำจึงจะเต็มแก้ว.............พูดง่ายๆ ก็คือ ..............
ถ้า ก๊อกน้ำเราใหญ่ เราก็ เปิดก๊อกแป๊ปเดียว น้ำก็เต็มแก้วแล้ว (นึกภาพต่อไปอีกหน่อย ถ้าเราเปิดนานไป น้ำล้นออกจากแก้วแน่นอน)
ถ้า ก๊อกน้ำเราเล็ก เราก็ เปิดก๊อกนานหน่อย น้ำจึงจะเต็มแก้ว (นึกภาพต่อไปอีกหน่อย ถ้าเราเปิดสั้นเกินไป น้ำก็จะไม่เต็มแก้วแน่นอน)



เมื่อเข้าใจตามนั้นแล้ว เรามาเปรียบเทียบกับ การถ่ายรูปดีกว่า

น้ำที่เต็มแก้ว = ภาพที่มีแสงพอดี (เพื่อนำไปใช้งานได้)
ก๊อกน้ำ = รูรับแสง
เปิดก๊อกน้ำนานแค่ไหน (กี่วินาที) = เปิด Speed Shutter นานแค่ไหน

ถ้า รูรับแสงเรากว้าง (ก๊อกน้ำใหญ่) เรา เปิด Speed Shutter แป๊ปเดียว เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี
ถ้า รูรับแสงเราแคบ (ก๊อกน้ำเล็ก) เรา เปิด Speed Shutter นานหน่อย เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี

พอจะนึกออกบ้างแล้วใช่มั้ยคะ



จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราทำพลาด
ก๊อกน้ำใหญ่ เปิดน้ำนานไป = รูรับแสงกว้าง เปิด Speed Shutter นานไป
น้ำล้นออกจากแก้ว = ภาพที่ได้แสงล้นเกินไป (ภาพสว่างจ้า)

ตัวอย่างภาพ ด้านล่างนี้ค่ะ - นี่คือลักษณะของภาพที่แสงล้น (แสง Over) คือ ณ เวลาที่เก้าถ่ายภาพนี้ เป็นเวลาประมาณ 9 โมงเช้า แดดสดใสมากๆ ที่ ISO 100 (แสงพออยู่แล้ว ไม่อยากได้ภาพมี Noise) เก้าตั้งค่า F2.8 รูรับแสงกว้างทีเดียวล่ะ (เพราะเก้าอยากถ่ายภาพสไตล์ชัดตื้น ต้องการละลาย Backgroud ด้านหลังทิ้งไป) เก้าตั้งค่า Speed Shutter 1/100 ถือว่า นานเกินไป  ก็เลยได้ภาพแบบนี้มา -_-'' นักท่องเที่ยวอย่างเรา ย่อมไม่พอใจแน่นอน



แล้วทีนี้ เราก็ทำพลาดอีก เพราะเราก็ไม่มีความพอดีเท่าไร (ฮ่าๆๆ)
ก๊อกน้ำใหญ่ก็จริง เปิดน้ำแป๊ปเดียวเกินไป = รูรับใหญ่ก็จริง แต่เปิด Speed Shutter สั้นไปมาก 
น้ำยังไม่เต็มแก้ว = ภาพที่ได้แสงน้อยเกินไป (ภาพมืด)

ตัวอย่างภาพ ด้านล่างนี้ค่ะ - นี่คือลักษณะของภาพที่แสงไม่พอ มันดูมืดเกินไปกว่าความเป็นจริง คือ ณ เวลาที่เก้าถ่ายภาพนี้ เป็นเวลาประมาณ 9 โมงเช้า แดดสดใสมากๆ ที่ ISO 100 (แสงพออยู่แล้ว ไม่อยากได้ภาพมี Noise) เก้าตั้งค่า F2.8 รูรับแสงกว้างทีเดียวล่ะ (เพราะเก้าอยากถ่ายภาพสไตล์ชัดตื้น ต้องการละลาย Backgroud ด้านหลังทิ้งไป) แต่เก้าตั้งค่า Speed Shutter 1/2000 ถือว่า สั้นเกินไป ก็เลยได้ภาพแบบนี้มา -_____-'' นักท่องเที่ยวอย่างเรา เกิดความไม่พอใจอีกครั้ง



คราวนี้ เรามาดูที่ความพอดีกันดีกว่าค่ะ เราเริ่มกลับมาปกติอีกครั้ง
ก๊อกน้ำใหญ่ ระยะเวลาการเปิดน้ำพอดี = รูรับใหญ่ เปิด Speed Shutter พอดี 
น้ำเต็มแก้ว = ภาพที่ได้แสงพอดี (ภาพที่ได้ตรงกับความเป็นจริง)

อย่างภาพด้านล่างนี้ - คือภาพที่แสงพอดี อย่างที่ตาเก้าเห็น ณ เวลาที่เก้าไปถ่ายรูปนี้ค่ะ คือ เวลา 9 โมงเช้า แดดสดใส ที่ ISO 100 (แสงพออยู่แล้ว ไม่อยากได้ภาพมี Noise) เก้าตั้งค่า F2.8 รูรับแสงกว้างทีเดียวล่ะ (เพราะเก้าอยากถ่ายภาพสไตล์ชัดตื้น ต้องการละลาย Backgroud ด้านหลังทิ้งไป) แต่เก้าตั้งค่า Speed Shutter 1/1000 ถือว่าพอดี ก็เลยได้ภาพแบบนี้มา ^O^ นักท่องเที่ยวอย่างเราก็สมใจแล้วค่ะ



ทีนี้ เรามาเพิ่มปัจจัยกันอีกสักหน่อย เมื่อกี้ก๊อกน้ำเล็กใหญ่มาแล้วใช่มั้ยคะ ถ้าแก้วน้ำเล็กใหญ่ไม่เท่ากันบ้างล่ะ

ที่ก๊อกน้ำขนาดเท่ากัน แต่แก้วน้ำขนาดไม่เท่ากัน

ภาพทางซีกซ้าย แก้วน้ำใบใหญ่ เปิดก๊อกน้ำนาน 6 วินาที น้ำจึงเต็มแก้ว
ภาพทางซีกขวา แก้วน้ำใบเล็กกว่า เปิดก๊อกน้ำนาน 2 วินาที น้ำจึงเต็มแก้ว

แน่นอนค่ะ แก้วใบใหญ่กว่า ก็เปิดก๊อกน้ำนานกว่าอยู่แล้ว

แก้วน้ำใบใหญ่ เรารองน้ำเต็มแก้ว แน่นอนกว่า เราได้น้ำไปใช้เยอะ เช่น เอามาดื่มจนหมดแก้ว เราก็หายหิวน้ำ เอาไปรดน้ำต้นไม้ในกระถาง หรือว่า แก้วใหญ่แบบซุปเปอร์ใหญ่ ก็เอามาอาบน้ำได้ เป็นต้น

แก้วน้ำใบเล็ก เรารองน้ำเต็มแก้ว แน่นอนว่า เราได้น้ำไปใช้น้อย เช่น เอามาได้แค่จิบๆ พอหายหิวน้ำลงบ้าง แต่ยังหิวน้ำอยู่ เอามาล้างหน้า พอให้ตื่น แต่ก็ไม่พออาบทั้งตัว เป็นต้น

มาเทียบกับการถ่ายรูปดูค่ะ

น้ำที่เต็มแก้ว = ภาพที่มีแสงพอดี (เพื่อนำไปใช้งานได้)
ก๊อกน้ำ = รูรับแสง
เปิดก๊อกน้ำนานแค่ไหน (กี่วินาที) = เปิด Speed Shutter นานแค่ไหน
แก้วน้ำ = ISO
แก้วน้ำใบใหญ่ = ISO น้อย (ISO 100)
แก้วน้ำใบเล็ก = ISO มาก (ISO 6400)

แก้วใบเล็ก ก็เหมือนกับเราเปิด ISO สูง เช่น 6400 ภาพที่ได้คือภาพที่มี Noise มาก  เอาไปทำอะไรได้บ้าง  เอามาย่อลงเว็บ พอย่อแล้ว เราก็จะไม่ค่อยเห็น Noise เท่าไร  ก็ยังพอใช้ได้

แก้วใบใหญ่ ก็เหมือนเราเปิด ISO ต่ำ เช่น 100 ภาพที่ได้คือภาพที่ไม่มี Noise เลย เอาไปทำอะไรได้บ้าง  เอาไปทำสิ่งพิมพ์ ทำ Billboard ทำ Cut out หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้ Quality ของภาพสูง เช่นเอาไปลงนิตยสาร หรือแม้แต่เอามาลงเว็บก็ได้ด้วย พูดง่ายๆว่า เอาไปทำอะไรได้เยอะกว่าค่ะ 


เพื่อความเข้าใจ เก้าก็จะขอสรุปให้ฟังตามภาพนี้นะคะ (จะสังเกตว่า เราไม่ได้พูดถึงสไตล์ภาพกันเลยนะ อยากให้เข้าใจก่อนว่า ปรับอะไร แล้วได้อะไรบ้าง เพราะต้องบอกตรงๆ ว่า การถ่ายภาพ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวค่ะ มันแล้วแต่วัตถุประสงค์ของคนถ่ายภาพมากกว่า อยากได้ภาพอารมณ์ไหน เอาภาพไปทำอะไร และอื่นๆ อีกมากมาย)


จากที่อ่านมา จะเห็นเก้าใช้คำว่า นานเกินไป สั้นเกินไป อาจจะสงสัยว่า แล้วมันวัดจากอะไรที่ว่า นานไป สั้นไป ??
อาจจะสงสัยว่า ความพอดีอยู่ตรงไหน??
ความพอดี มันเริ่มมาจาก สภาพแสงที่เรามีอยู่ (เช่น กลางวัน กลางคืน กลางคืนแต่มีไฟเยอะ กลางคืนแต่มีไฟน้อย กลางวันแต่ไปอยู่ในที่อับแสง กลางวันอยู่กลางแจ้งสุดๆ) + รูรับแสง + Speed Shutter คือ...

เราต้องสังเกตแสงให้ดี ว่าสถานที่ ที่เราอยู่ แสงเป็นอย่างไร แต่ถ้าใครยังไม่เชี่ยวชาญ ลองให้กล้องเป็นตัวสังเกตก็ได้ค่ะ ถ้ายังจำได้ ถ้าเราปรับกล้องไปที่โหมด AV เวลาที่เราเปลี่ยน ค่า F (ค่ารูรับแสง) Speed Shutter จะเปลี่ยนตามรูรับแสง เก้าจะขอยกตัวอย่างนะคะ

โดยปกติเก้าจะใช้โหมด AV ในการถ่ายรูป (เพราะมันง่ายดี) เก้าใส่เลนส์ Fix 50 mm. ทีนี้ เก้ายังไม่ชำนาญพอในการจะดูด้วยตาเปล่า ก็รู้ว่า แสงพอหรือเปล่า เก้าก็เลยใช้วิธี กดปุ่มโฟกัส ทำท่าว่าจะถ่ายรูป สมมุติว่า เก้าจะถ่ายภาพดอกไม้ใกล้ๆ อยากได้สไตล์ภาพ ชัดตื้น ตัวแบบชัด Bckground เบลอ เก้าก็เลยปรับค่า F1.8 กล้องจะแสดงค่า Speed Shutter ถ้า Speed Shutter แสดงค่าส่วน น้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ เก้าถือว่า ณ ที่นั้น แสงไม่พอค่ะ

อย่างเช่น ถ้า Speed Shutter แสดงค่าเป็น 1/25 ส่วนมีค่าเป็น 25 น้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ Fix 50 mm. ซึ่งเก้าถ่ายออกมาเบลอแน่นอนเพราะมือสั่น มันทำให้เก้าต้องเพิ่ม ISO เก้ามองว่า นี่คือแสงไม่พอ

Note :
แสงจากดวงอาทิตย์ จะมีพลังแรงกว่าแสงจากหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ (ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกว่าแสงในห้องสว่างมากก็ตามที) ดังนั้น ถ้ารูรับแสงและ ISO เท่ากัน ถ้าถ่ายรูปกลางแจ้ง Shutter Speed จะเร็วกว่าถ่ายรูปในห้องที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ !!!



เก้าหวังว่า อ่านมาถึงตรงนี้ พอจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะคะ ถ้าเข้าใจมากขึ้น ก็จะทำให้คุณสามารถประยุกต์ใช้งานกันได้หลายสถานการณ์เลยทีเดียวล่ะ ถ้ามีคำถามอะไร ก็โพสท์ถามมาได้เลยนะคะ จะพยายามหาคำตอบมาให้ได้ค่า

พอเริ่มใช้งานอุปกรณ์กันคล่องแล้ว ก็ลองมาดูเทคนิคการจัด Compose ภาพให้สวยกันบ้างเนอะ ภาพที่เราจะมีเก็บไว้เป็นความทรงจำว่า แหม ไปเที่ยวซะไกล ไปทั้งที ได้ภาพเชยๆ กลับมา

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพกันทุกคนนะคะ ^^/

ติดตามอ่าน Basic การถ่ายรูปทั้ง 4 ตอนได้ที่ Link นี้ค่ะ
1. ดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสง
2. ดีไซน์ภาพด้วยสปีดชัตเตอร์
3. ISO คืออะไร?
4. รูรับแสง - Speed Shutter - ISO เกี่ยวข้องกันยังไง?
สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า