สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

Basic การถ่ายภาพ

Landscape 101 : 9 เทคนิคเข้าใจง่าย ถ่ายน้ำตกให้สวย



มาแล้วจ้า กับเทคนิคดีๆ ในการถ่าย Landscape วันนี้เรามี " 9 เทคนิคเข้าใจง่าย ในการถ่ายน้ำตกให้สวย" มาฝาก อีกเดี๋ยวก็จะเข้าหน้าฝนชุ่มฉ่ำแล้ว ใครแพลนไปเที่ยวน้ำตกสวยๆ สามารถเอาไปปรับใช้กันได้เลยนะจ๊ะ บอกก่อนว่าไม่ใช้เทคนิคขั้น advance น๊า เรียกว่าเป็นขั้นพื้นฐานจะดีกว่า สามารถเอาไปปรับใช้กับการถ่าย Lanscape อย่างอื่นก็ได้ด้วยเหมือนกัน 🗺🏞🏔 #Landscape101 #Photography #WaterfallPhotography



1.เลือกฟิลเตอร์ก่อน
เมื่อมาถึงน้ำตกกันก็อย่าเพิ่งใจร้อน ตั้งขาตั้งเตรียมถ่ายกันทันที ทำใจร่มๆ เรามาเลือกฟิลเตอร์ที่จะใช้ แล้วพิจารณาลักษณะของสถานที่กันเสียก่อน แน่นอนว่าฟิลเตอร์ที่ควรพกติดตัวไปด้วยจะเป็นอันไหนไม่ได้นอกเหนือไปกว่า ND ฟิลเตอร์ CPL ฟิลเตอร์
โดยเราจะใช้ ND ฟิลเตอร์นำไปถ่ายลาก speed Shutter ต้มน้ำตกให้ฟุ้งๆ เป็นปุ้ยนุ่นกันไปข้าง (ใช้เทคนิค Long Exposure) ส่วน CPL ก็พกไว้ถ่ายตัดเงาสะท้อนในลำธารออกไปได้สวยๆ
ไอเลิฟขอแนะนำฟิลเตอร์คุณภาพสูง H&Y - KVC77 VND3-1000 + CPL สามารถปรับความทึบของ ND 1.5 -1000 stop แถมมี CPL ในตัว อันเดียวจบเลย *หมายเหตุ ฟิลเตอร์อันนี้ต้องใช้คู่กับอะแดปเตอร์นะ ไม่สามารถใช้กับเลนส์ได้ทันทีนะจ๊ะ
>>สนใจสั่งซื้อได้ที่ลิ้งนี้เลยนะ



2. Speed Shutter
โดยทั่วไปแล้วเราจะลาก Speed Shutter อยู่ที่ประมาณ 1/4s - 1s ซึ่งการถ่ายแบบลากสปีดซัตเตอร์ เป็นเทคนิคที่ใช้ถ่าย Subject ที่เคลื่อนไหวให้นิ่งสนิท ในที่นี้ก็คือน้ำตกของเรานั่นเอง หรือใครอยากลาก Speed Shutter ยาวๆ (Long Exposure) ให้ได้น้ำตกฟุ้งๆ ก็ไม่มีปัญหา อันนี้ก็แล้วแต่รสนิยมว่าเราชอบแบบไหน ขาตั้งกล้องเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าใครยังไม่มีขาตั้งกล้อง ไอเลิฟขอแนะนำขาตั้ง Manfrotto - Befree GT Carbon Tripod ขาตั้งน้ำหนักเบาทำจากคาร์บอนไฟเบอร์สำหรับพกพาโดยเฉพาะ พาขึ้นเขาลงห้วยได้สบายไม่เป็นภาระ แข็งแรง ซื้อครั้งเดียวใช้ได้ยาวๆ
>>สนใจสั่งซื้อได้ที่ลิ้งนี้เลยนะ



3. คิดเป็นชั้นๆ
ในการถ่ายน้ำตก เราจะแยกส่วนของภาพออกเป็น 3 ชั้น คือชั้นล่าง Foregroud ซึ่งจะเป็นบริเวณของพื้น หรือธารน้ำ ชั้นกลาง (Midground) บริเวณนี้จะเป็นตัวน้ำตก ควรเป็นส่วนที่โดดเด่นที่สุดของภาพ ชั้นสุดท้ายคือ ชั้นบน (Background) หรือแบล็คกราว ส่วนใหญ่จะเป็นท้องฟ้าหรือป่าด้านหลังน้ำตกทั้งหมด
หลักการก็คือเราจะเลือกพิจารณาองค์ประกอบของภาพไปทีละชั้น ก่อนกดถ่ายนั่นเองจ้า



4. ภาพรวม
เมื่อลองพิจารณาองค์ประกอบของภาพได้แล้ว ให้ลองกดถ่ายในระยะต่างๆ หรือจากมุมหลายๆ มุม เพื่อให้ได้ภาพน้ำตกที่ออกมาดูสมดุล และดูดีที่สุด โดยยึดหลัก 3 ชั้นเป็นหลักในการถ่าย



5.ต้องศึกษาและเข้าใจสถานที่นั้นๆ เป็นอย่างดี
น้ำตกแต่ละที่ล้วนมาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน ทำให้มันมีคาแรคเตอร์ และลักษณะที่ต่างกันออกไป การเข้าใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับน้ำตกนั้นๆ สักนิดหน่อย จะทำให้เราสามารถถ่ายทอด สื่อสารภาพที่ถ่ายออกมาได้อย่างตรงจุด หรือบางสถานที่อาจจะมีจุดพิเศษอยู่หลายที่ เราจะได้ตามไปเก็บภาพให้ครบ จะได้ไม่ไปเสียเที่ยวยังไงล่ะ



6.ถอยห่างก่อน
หากน้ำตกที่เราจะถ่ายนั้นใหญ่มากๆ ทำให้ไม่รู้จะเริ่มถ่ายจากจุดไหนดี ให้ถอยห่างออกมาจนถึงจุดที่เราสามารถถ่ายน้ำตกทั้งหมดได้ แล้วลองถ่าย Long expore สัก 2 - 3 ภาพก่อน เพื่อดูทิศทางของน้ำที่ตกลงมา จะช่วยเลือกมุมที่จะถ่ายได้ง่ายขึ้น



7.เลือกใส่เฉพาะองค์ประกอบที่ดีต่อภาพจริงๆ
ก่อนที่เราจะตัดสินใจใส่องค์ประกอบภาพเพิ่มเติมเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นคน ก้อนหิน ขอนไม้ เราต้องพิจารณาก่อนทุกครั้งว่ามันทำให้ภาพร่วมของภาพออกมาดี เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ขัดแย้ง หรือโดดเด่นกว่าน้ำตกที่ต้องเป็นพระเอกของภาพ



8. น้ำตกเล็กเลือกถ่ายจจากมุมต่ำ
ถ้าน้ำตกที่เราจะถ่ายเป็นน้ำตกขนาดเล็ก ให้เลือกถ่ายจากมุมต่ำ แล้วถ่าย focus stack ไว้สัก 2-3 ภาพ เพื่อเก็บโฟกัสทั้ง Foreground และ Background ให้ครบ จะได้ภาพที่ดูดีและสวยกว่าถ่ายแบบทั่วไป



9. ออกเดินทางได้เลย
เราไม่สามารถคาดเดากับสภาพอากาศได้ หลายครั้งแผนที่วางไว้ต้องล่ม เพราะสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ ดังนั้นอย่ากลัวที่จะออกเดินทางและผจญภัย เราไม่มีทางรู้ว่าปลายทางจะเจออะไร ไม่แน่หลังฝนหยุดตก เราอาจจะได้สายรุ้งสวยๆ มาเป็นรางวัล ทั้งนี้ทั้งนั้นในช่วงที่มีมรสุมการเดินทางขึ้นเขาเข้าป่านั้นอันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำตก ลำธารเพราะอาจจะมีน้ำป่าไหลหลากเกินขึ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงเดินทางในช่วงมรสุม หรือศึกษาเส้นทางกับเจ้าหน้าที่ดูแลทุกครั้งก่อนเดินทาง
สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า